เชื่อว่าหลายๆท่านน่าจะเคยได้ยินหรือเคยเห็นแปรงสีฟันไฟฟ้ามาบ้างแล้ว เนื่องจากในปัจจุบันมีการขายอย่างแพร่หลายขึ้นมาก และราคาก็ถูกลงกว่าเมื่อก่อนเยอะ จริงๆแล้วแปรงสีฟันไฟฟ้าต่างกับการแปรงปกติยังไง ? ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟันดีกว่าหรือไม่ ? ลองดูข้อมูลเหล่านี้เพื่อประกอบการตัดสินใจนะครับ
เดิมทีแปรงสีฟันไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับการเคลื่อนไหวของข้อมือได้ตามปกติ เพื่ออำนวยความสะดวกให้สามารถแปรงฟันได้ง่ายขึ้น แต่ในปัจจุบันแปรงชนิดนี้ได้ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันกับคนทั่วไปด้วยเหมือนกัน
ในเรื่องประสิทธิภาพ ถ้าจะเปรียบเทียบความสามารถในการกำจัดคราบจุลินทรีย์บนผิวฟันระหว่างแปรงไฟฟ้ากับแปรงสีฟันแบบธรรมดา จากรายงานผลการวิจัยส่วนใหญ่พบว่ามีประสิทธิภาพพอๆกัน ไม่แตกต่าง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแปรงฟันของแต่ละบุคคลด้วยครับ ถ้าเราเป็นคนแปรงฟันเร็ว แปรงไม่ทั่ว การใช้แปรงไฟฟ้าก็อาจให้ผลดีกว่า เพราะข้อดีของแปรงไฟฟ้าคือ สะดวกสบายดี ใช้ง่าย ไม่ต้องขยับอะไรมากนักแค่วางให้ถูกผิวฟันให้ทั่วแล้วย้ายไปให้ครบทุกซี่ก็สะอาดแล้ว
ส่วนข้อเสียของแปรงไฟฟ้าก็คือราคาครับ ทั้งตัวแปรงและส่วนหัวแปรง (ซึ่งส่วนหัวแปรงนั้น เราก็ต้องเปลี่ยนใหม่ทุก 3-6 เดือนเหมือนแปรงธรรมดาครับ) ถึงจะมีราคาถูกลงกว่าเมื่อก่อนแล้วอย่างที่บอกไว้ตอนต้น แต่ก็ยังมีราคาสูง(มาก)อยู่ดีถ้าเทียบกับแปรงธรรมดา
จากข้อมูล โดยสรุปก็คือ เราควรใช้แปรงสีฟันชนิดนี้หรือไม่ ก็ขึ้นกับความพอใจ และเงินในกระเป๋าครับของเราครับ
ทพ.ศิลา จิรวัฒโนทัย
อีก 1 ช่องทางในการติดต่อ
วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553
ปวดฟัน ทำไงดี ?
อาการปวดฟัน แน่นอนว่าย่อมเป็นอาการไม่พึงประสงค์ของใครๆ หลายคนที่เคยมีประสบการณ์คงบอกได้ว่ามันทรมานแค่ไหน นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิทำงาน ทานอะไรไม่ได้ อ้าปากก็ไม่ได้ จะลุกจะนั่งจะนอน มันก็ปวดไปหมด
สำหรับการรักษาอาการปวดฟันนั้น เราคงต้องเริ่มจากการหาสาเหตุของอาการปวดกันก่อน
อาการปวดเกิดได้จากสาเหตุที่พบบ่อย ดังนี้
1. ฟันผุ-หัก-ร้าวทะลุถึงโพรงประสาทฟัน
อาการ : มักทำให้ปวดมาก ปวดจนนอนไม่หลับ อยู่ๆก็ปวดขึ้นมาเอง บางครั้งพบเหงือกบวม มีตุ่มหนองใกล้ตัวฟันร่วมด้วย
การรักษา : รักษารากฟันหรือถอนฟันที่เป็นสาเหตุ
2. ฟันผุ-หัก-ร้าวไม่ถึงประสาทฟัน แต่มีซอก-รูให้มีเศษอาหารเข้าไปติดได้
อาการ : มักจะปวดเมื่อรับประทานอาหารแล้วเศษอาหารไปติดที่ซอก-รูนั้นๆ อาการปวดมักเป็นอาการปวดตื้อๆ อาการลดลงหรือหายไปเมื่อเอาเศษอาหารออกไปได้
การรักษา : โดยการอุดฟันบริเวณที่ผุเป็นรู
3. เหงือกอักเสบ (gingivitis) หรือเป็นโรคเหงือก (periodontal disease) เกิดจากการมีหินปูนมากเป็นเวลานาน
อาการ : ปวดรำคาญ อาจมีเหงือกบวมๆยุบๆตำแหน่งเดิมหรือย้ายตำแหน่งไปเรื่อยๆ บางครั้งอาจพบว่ามีหนองซึมออกมาจากซอกฟันด้วย
การรักษา : ขูดหินปูน เกลารากฟัน อาจจำเป็นต้องมีการรักษาอื่นร่วมด้วย ในกรณีที่เป็นมากๆอาจต้องถอนฟัน
4. การสบฟันผิดปกติ (malocclusion)
อาการ : มักจะปวดเมื่อเคี้ยวอาหารหรือขณะฟันกระทบกัน
การรักษา : โดยการกรอแก้ไขการสบฟัน (occlusal adjustment)
5. โรคทางระบบประสาท (trigeminal neuralgia)
อาการ : มักจะปวดฟันมากกว่า 1 ซี่ ปวดทั้งบริเวณแบบระบุซี่ไม่ได้ อาจพบอาการปวดเหงือกหรือแก้มบริเวณนั้นร่วมด้วย
การรักษา : ใช้การรับประทานยา บางครั้งอาจต้องใช้การผ่าตัดร่วมด้วย
6. ปวดจากการอักเสบของเหงือกรอบฟันคุด
อาการ : ปวดตลอดเวลา อาจมีอาการปวดตั้งแต่ปวดรำคาญๆไปจนถึงปวดมาก มักมีเหงือกหรือแก้มบวมร่วมด้วย
การรักษา : ผ่า-ถอนฟันคุดที่เป็นสาเหตุออก (หากมีฟันคู่สบ แนะนำให้ถอนออกด้วย เพื่อป้องกันการงอกเกินและกัดเหงือกในอนาคต)
7. สาเหตุอื่นๆ เช่น ฟันที่เคยรักษารากฟันมานานแล้ว อาจเกิดการรั่วซึมของวัสดุหรือครอบฟัน ทำให้มีเชื้อโรครั่วเข้าไปในบริเวณที่รักษาแล้วทำให้เกิดหนองใหม่ขึ้น ซึ่งการรักษาก็จะเหมือนกรณีแรกคือรักษารากใหม่ หรือในกรณีของฟันที่เพิ่งอุดเสร็จใหม่ๆ อาจพบอาการปวดเสียวได้บ้างในกรณีที่รอยอุด-รอยผุเดิมลึกมาก ซึ่งอาการจะค่อยๆลดลงจนหายไปเองประมาณ 7-10 วัน
โดยเมื่อมีอาการปวดฟันเกิดขึ้นแล้ว เราควรตรวจหาสาเหตุของอาการให้เจอ เพื่อจะได้รักษาให้ตรงกับที่มาของอาการปวดนั้นๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนอาการลุกลาม เพราะการรักษาใดๆ หากเราเริ่มรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมให้ผลการรักษาที่ดีขึ้นครับ
ทพ.ศิลา จิรวัฒโนทัย
สำหรับการรักษาอาการปวดฟันนั้น เราคงต้องเริ่มจากการหาสาเหตุของอาการปวดกันก่อน
อาการปวดเกิดได้จากสาเหตุที่พบบ่อย ดังนี้
1. ฟันผุ-หัก-ร้าวทะลุถึงโพรงประสาทฟัน
อาการ : มักทำให้ปวดมาก ปวดจนนอนไม่หลับ อยู่ๆก็ปวดขึ้นมาเอง บางครั้งพบเหงือกบวม มีตุ่มหนองใกล้ตัวฟันร่วมด้วย
การรักษา : รักษารากฟันหรือถอนฟันที่เป็นสาเหตุ
2. ฟันผุ-หัก-ร้าวไม่ถึงประสาทฟัน แต่มีซอก-รูให้มีเศษอาหารเข้าไปติดได้
อาการ : มักจะปวดเมื่อรับประทานอาหารแล้วเศษอาหารไปติดที่ซอก-รูนั้นๆ อาการปวดมักเป็นอาการปวดตื้อๆ อาการลดลงหรือหายไปเมื่อเอาเศษอาหารออกไปได้
การรักษา : โดยการอุดฟันบริเวณที่ผุเป็นรู
3. เหงือกอักเสบ (gingivitis) หรือเป็นโรคเหงือก (periodontal disease) เกิดจากการมีหินปูนมากเป็นเวลานาน
อาการ : ปวดรำคาญ อาจมีเหงือกบวมๆยุบๆตำแหน่งเดิมหรือย้ายตำแหน่งไปเรื่อยๆ บางครั้งอาจพบว่ามีหนองซึมออกมาจากซอกฟันด้วย
การรักษา : ขูดหินปูน เกลารากฟัน อาจจำเป็นต้องมีการรักษาอื่นร่วมด้วย ในกรณีที่เป็นมากๆอาจต้องถอนฟัน
4. การสบฟันผิดปกติ (malocclusion)
อาการ : มักจะปวดเมื่อเคี้ยวอาหารหรือขณะฟันกระทบกัน
การรักษา : โดยการกรอแก้ไขการสบฟัน (occlusal adjustment)
5. โรคทางระบบประสาท (trigeminal neuralgia)
อาการ : มักจะปวดฟันมากกว่า 1 ซี่ ปวดทั้งบริเวณแบบระบุซี่ไม่ได้ อาจพบอาการปวดเหงือกหรือแก้มบริเวณนั้นร่วมด้วย
การรักษา : ใช้การรับประทานยา บางครั้งอาจต้องใช้การผ่าตัดร่วมด้วย
6. ปวดจากการอักเสบของเหงือกรอบฟันคุด
อาการ : ปวดตลอดเวลา อาจมีอาการปวดตั้งแต่ปวดรำคาญๆไปจนถึงปวดมาก มักมีเหงือกหรือแก้มบวมร่วมด้วย
การรักษา : ผ่า-ถอนฟันคุดที่เป็นสาเหตุออก (หากมีฟันคู่สบ แนะนำให้ถอนออกด้วย เพื่อป้องกันการงอกเกินและกัดเหงือกในอนาคต)
7. สาเหตุอื่นๆ เช่น ฟันที่เคยรักษารากฟันมานานแล้ว อาจเกิดการรั่วซึมของวัสดุหรือครอบฟัน ทำให้มีเชื้อโรครั่วเข้าไปในบริเวณที่รักษาแล้วทำให้เกิดหนองใหม่ขึ้น ซึ่งการรักษาก็จะเหมือนกรณีแรกคือรักษารากใหม่ หรือในกรณีของฟันที่เพิ่งอุดเสร็จใหม่ๆ อาจพบอาการปวดเสียวได้บ้างในกรณีที่รอยอุด-รอยผุเดิมลึกมาก ซึ่งอาการจะค่อยๆลดลงจนหายไปเองประมาณ 7-10 วัน
โดยเมื่อมีอาการปวดฟันเกิดขึ้นแล้ว เราควรตรวจหาสาเหตุของอาการให้เจอ เพื่อจะได้รักษาให้ตรงกับที่มาของอาการปวดนั้นๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนอาการลุกลาม เพราะการรักษาใดๆ หากเราเริ่มรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมให้ผลการรักษาที่ดีขึ้นครับ
ทพ.ศิลา จิรวัฒโนทัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)